29.3.58

Mourn – Moan : คร่ำครวญ ครวญคราง

ขณะที่ผมอ่านข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของท่าน ลี กวน ยู  ผู้ก่อตั้งและนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสิงค์โปร์ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ผมเกิดไปสะดุดตากับคำศัพท์ที่ใช้บรรยายถึงความเศร้าโศกเสียใจของชาวสิงค์โปร์ที่มีต่ออดีตผู้นำของเขา    โดยในข่าวนั้นใช้คำว่า

 Mourn (อ่านว่า มอร์น)  แปลว่า “เสียใจ คร่ำครวญ”
  
คำนี้เป็นคำกริยาแปลว่า “เศร้าโศก เสียใจ คร่ำครวญ หรือ อาลัย” ก็ได้   โดยคำนี้มักใช้บรรยายให้เห็นถึงความเสียใจจากการการสูญเสียของรักหรือคนรัก    สำหรับกรณีของท่าน ลี กวน ยู  หนังสือพิมพ์ใช้ Mourn ในประโยคดังต่อไปนี้
  
Singapore mourns founding father Lee Kuan Yew.
สิงค์โปร์เศร้าโศกเสียใจ  (ต่อการจากไป) ของท่าน ลี กวน ยู  (ซึ่งเป็น) บิดา (ผู้ก่อตั้ง) ประเทศ
  
ในภาษาอังกฤษ ยังมีคำศัพท์อีกคำหนึ่ง ที่น่าสนใจเพราะออกเสียงใกล้เคียงกันกับคำว่า Mourn นั่นคือ

 Moan (อ่านว่า โมน)  แปลว่า  “ครวญครางคราง”

คำนี้เป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา หากเป็นคำนามจะแปลว่า “การครวญคราง หรือความทุกข์ระทม”  หากเป็นคำกริยา จะแปลว่า “ครวญคราง หรือ คราง”การครวญครางนี้ ใช้ได้ทั้งกรณีครวญครางด้วยความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน เช่นในกรณีคนป่วยที่ใกล้เสียชีวิต  แต่ในบางครั้ง  Moan ก็ถูกใช้ในกรณีครวญครางด้วยความสุขได้เช่นกัน  ต้องดูเป็นกรณีๆ ไป อย่าเพิ่งไปรีบฟันธง เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เรามาดูตัวอย่างประโยคกันดีกว่า

The patient moaned with pain and fear.
คนไข้ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดและความหวาดกลัว

Peter moaned with pleasure.   ปีเตอร์ครางออกมาด้วยความสุข.

สิ่งที่น่าสนใจคือ การออกเสียง Mourn (มอร์น)  กับ  Moan (โมน)  นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก  แม้ว่าในทีนี้ผมจะเขียนกำกับการอ่านออกเสียงให้ท่านเป็นตัวอักษรที่แตกต่างกัน แต่หากท่านผู้อ่านลองออกเสียงตามที่ผมเขียนไว้ จะพบว่าทั้งสองคำนี้ออกเสียงใกล้เคียงกันมาก  นั่นคือเหตุผลว่า หากเราไปเจอใครพูดคำใดคำหนึ่งในสองคำนี้ออกมา ท่านจะต้องดูความหมายรวมและตีความออกมาให้ได้ก่อนว่าเขากำลังหมายถึงคำศัพท์คำใด

นอกจากนั้น ผมอยากให้ท่าน สนใจคำว่า Moan ที่แปลว่า “ครวญคราง” ด้วย เราจำเป็นต้องตีความประโยคที่ Moan ไปปรากฏอยู่ให้ดีๆ ว่า ที่เขาครวญครางนั้น เป็นเพราะเขาทุกข์ทรมานหรือ ครางออกมาเพราะเขากำลังมีความสุข  ภาษาอังกฤษนั้นจะว่าไปแล้วไม่ยากเลย หากเรารู้ความหมายและความแตกต่างในการใช้งานของคำศัพท์แต่ละคำเป็นอย่างดี

อาจารย์บอม
29-03-2015



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น