16.5.59

Feasible - Flexible: ต่างกันอย่างไร?



ที่มาภาพ: https://s3-eu-west-1.amazonaws.com/cjp-rbi-ptod/wp-content/uploads/sites/8/2014/06/flexible-working-spring.jpg


ไม่พูดพล่ามทำเพลง อารัมภบทอะไรแล้วครับ เข้าประเด็นเลย วันนี้ผมมีคำศัพท์สองคำที่มักจะพบจะเห็นในบทความทางธุรกิจและงานเขียนหลายๆ ชิ้น  ซึ่งทั้งสองคำนี้ สะกดและออกเสียงใกล้เคียงกัน  มาดูกันที่คำแรกเลย นั่นคือ

Feasible (อ่านว่า ฟี้ สิ เบิ่ล)   แปลว่า  “เป็นไปได้”


คำนี้เป็นคำคุณศัพท์แปลว่า “เป็นไปได้”  หากต้องการใช้เป็นคำนาม เราจะใช้คำว่า Feasibility   แปลว่า  “ความเป็นไปได้”  ในแวดวงธุรกิจเราจะพบคำว่า Feasibility Study อยู่บ่อยๆ ซึ่งหมายถึง “การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ”   เรามาดูตัวอย่างประโยคกันดีกว่า

We need to complete the feasibility study before we can get loan from the bank. 
เราจำเป็นต้องทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้เสร็จสิ้นก่อน 
ธนาคารถึงจะให้เงินกู้แก่เรา  

นอกจากนี้แล้วยังมีอีกคำที่คล้ายๆ กันนั่นคือ
  
Flexible (อ่านว่า เฟล็ค สิ เบิ่ล )  แปลว่า “ยืดหยุ่น หรือ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์”

คำนี้เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) แปลว่า “ยืดหยุ่น หรือ ดัดงอได้ หรือ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์” หากเป็นคำนามจะใช้คำว่า Flexibility แปลว่า “ความยืดหยุ่น หรือการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้”   ตัวอย่างประโยคเช่น

This is a dynamic situation so we need to have the flexible solutions.  
สถานการณ์นี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีทางออกที่ยืดหยุ่น (ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ได้)   


แม้ว่า Feasible กับ Flexible จะออกเสียงคล้ายๆ กัน แต่ใช่ว่าจะเหมือนกันเป๊ะซะเลยทีเดียว ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่เสียงพยางค์หน้า ซึ่ง Feasible (ฟี้ สิ เบิ่ล) จะออกเสียงพยางค์หน้าว่า “ฟี้”  ขณะที่ Flexible (เฟล็ค สิ เบิ่ล)  จะออกเสียงพยางค์หน้าว่า  “เฟล็ค”   อยากฝากไว้ว่า เราต้องหมั่นสังเกตหมั่นฝึกออกเสียงบ่อยๆ คำศัพท์ลักษณะแบบนี้บ่อยๆ  เพราะจะช่วยให้เราแยกแยะความแตกต่างได้ง่ายขึ้นมากครับ

อาจารย์บอม



2 ความคิดเห็น: