28.4.52

A.D B.C C.E ประวัติศาสตร์ที่โลกมิอาจลืม.....


ในโลกนี้มีบุคคลสำคัญมากมาย ที่สั่นสะเทือนประวัติศาสตร์ของโลก แต่จะมีสักกี่คนที่มีอิธิพล ขนาดสามารถกำหนดเวลาของโลกได้ วันนี้ผมขอนำท่านผู้อ่าน ไปรู้จักกับบุคคลๆ หนึ่ง ซึ่งเป็น บุคลลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์โลก เขาเป็นผู้ชายธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา บิดาของเขาเป็นเพียงช่างไม้จนๆ เขาเกิดและเติบโตในเมืองเล็กๆ ในทวีปเอเชีย สถานที่ๆ เขาเกิดนั้น คือรางหญ้าในคอกสัตว์ซึ่งแสนจะต่ำต้อย ไม่ใช่ในปราสาทราชวัง แต่...การเกิดของเขาในวันนั้น กลับส่งผลสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั้งโลก เขาคนนั้นคือ พระเยซู คริสต์ นั่นเอง คำว่า พระเยซู นั้น ภาษาอังกฤษเขียนและอ่านว่า....

Jesus Christ (อ่านว่า จีซัส ไคร้สฺทฺ) แปลว่า พระเยซู



พวกเราอาจจะเคยได้ยินชื่อ หรือ รู้จักผู้ชายคนนี้ในฐานะที่เป็น ศาสดา แห่งศาสนาคริสต์ แต่ในวันนี้ผมจะหยิบยกเอาอีกมุมหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกนี้โดยชายคนนี้มาเล่าให้ฟัง ก่อนอื่นขอนำเสนอตัวย่อดังต่อไปนี้


A.D.
B.C.
C.E.


ผมไม่ได้กำลังสอนท่านสะกด ABCD นะครับ แต่ผมจะมาเล่าเรื่อง การเขียนและอ่านปี ค.ศ. ให้ท่านผู้อ่านทราบครับ ผมขอเริ่มจากที่มาที่ไปและการใช้งานของแต่ละคำก่อน



A.D ย่อมาจากคำว่า anno Domini ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า in the year of our Lord หรือ in the year of Christian era since the birth of Christ แปลเป็นไทยอีกทีได้ความว่า ในปีที่พระเยซูได้ทรงประสูติขึ้นมา หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) โดยเริ่มต้นนับ ค.ศ.๑ ในปีที่พระเยซูประสูติ ถ้านับถึงปีนี้ 2009 A.D. ก็แปลความได้ว่า พระเยซู ประสูติมาได้แล้ว 2009 ปี

B.C
ย่อมาจาก Before (the birth of) Christ หรือแปลเป็นไทยได้ว่า ปีก่อนพระเยซูจะประสูติ พูดง่ายๆว่าก่อนคริสตกาล เช่น Rome was founded in 753 B.C แปลว่า กรุงโรมสร้างเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือนับรวมได้ มาถึงปีนี้ (ค.ศ. 2009 + 753) แสดงว่าสร้างมาแล้ว 2,762 ปี คำว่า B.C จึงถูกใช้เพื่อบ่งบอกถึงช่วงเวลาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนพระเยซูประสูติ ดังนั้นหนังเรื่อง 10000 B.C ที่เคยเข้าฉายในบ้านเรานั้น ผู้สร้างเขาตั้งชื่อเพื่อต้องการสื่อให้เราทราบว่า เหตุการณ์หรือเรื่องราวในหนังนั้นเกิดขึ้นก่อน พระเยซูจะถือกำเนิดมาในโลกนี้ ถึง หนึ่งหมืนปี เลยทีเดียว คงพอเข้าใจนะครับคราวนี้

C.E ตัวนี้ย่อมาจากคำว่า Christian Era แปลเป็นไทยว่า ศักราชของชาวคริสต์ เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แทนคำว่า A.D แต่ความหมายเหมือนกัน วิธีนับปีก็เหมือนกัน คือนับตั้งแต่วันที่พระเยซูประสูติเป็นปีที่ 1 ถ้าจะเขียนว่าในปี 2009 ก็เขียนดังนี้ in 2009 CE
ก่อนจะจบขอฝากอีกคำ ในฐานะที่เราอยู่ประเทศไทย เราจะนับตาม ปี พุทธศักราช (พ.ศ.) ซึ่งเราจะเริ่มนับจากปีที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ ปรินิพาน เป็น พ.ศ. 1 โดยถ้าเราต้องการเขียน เป็นภาษาอังกฤษ เราจะใช้คำย่อว่า
B.E ซึ่งย่อมาจาก Buddhist Era แปลว่าพุทธศักราช

เช่นปีนี้ พ.ศ. 2552 ก็เขียนเป็น 2552 B.E ถ้าจะเทียบกับปี ค.ศ. ให้จำหลักการแบบนี้นะครับ พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพาน (ตาย) ก่อน พระเยซู จะประสูติ (เกิด) ถึง 543 ปี ดังนั้นจะเปลี่ยน พ.ศ. เป็น ค.ศ. ก็นำ 543 ไปลบออก จากปี B.E ก็จะได้ C.E หรือ A.D ทันที ไม่เชื่อลองเอา พ.ศ. 2552 – 543 สิครับ จะได้ 2009 C.E พอดีเป๊ะๆ เลย

การเกิดขึ้นของมหาบุรุษ ในสถานที่ซึ่งเป็นที่อยู่ของบรรดาสารพัดสัตว์ที่เขาเลี้ยงเอาไว้ใช้งาน สถานที่ที่เต็มไปด้วยกลิ่นฟาง กลิ่นมูลสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น ขี้วัว ขี้ลา ขี้แกะ ขี้แพะ ที่ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นที่ต่ำต้อยสกปรก แต่ ณ ที่นั่นได้กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้น ของเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการจัดระเบียบเวลาโลก ณ ที่สกปรกต่ำต้อยแห่งนั้น ทำให้โลกใบนี้มีมาตรฐานในการเรียกขานเวลาแบบเดียวกัน องค์พระเยซู คริสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ศาสดาของชาวคริสต์จำนวนหลายร้อยล้านคนบนโลกใบนี้เท่านั้น การประสูติของพระองค์ยังทำให้โลกได้มีมาตรฐานเรียกขานเวลา ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงขององค์พระเยซู ผู้ซึ่งชาวคริสต์เชื่อว่า พระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า ที่ยอมลงมาตาย เพื่อช่วยไถ่บาปให้มนุษย์บาปหนา อย่างเราๆ ท่านๆ ได้รอดพ้นจากความบาป แต่จะ รอดอย่างไร, รอดแบบไหน และรอดจริงไหม ไว้โอกาสหน้าผมจะนำเกร็ดประวัติชีวิตของพระองค์มาเล่าให้ท่านฟัง พร้อมเรียนรู้คำศัพท์ที่น่าสนใจไปด้วยกันครับ

อาจารย์บอม
28-04-09

ปล. ขอขอบคุณ นายโอม แห่ง http://www.naiohm.com/ สำหรับข้อมูล และ แรงบันดาลใจในการเขียน blog ชิ้นนี้
Loading...

9 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ สำหรับเกร็ดความรู้

    ตอบลบ
  2. ขอขอบคุณนะครับ คุณทำให้ผมรู้มากขึ้น

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณครับ อยากรู้มานานแล้ว

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับ ขอพระฯอวยพรครับ

    ตอบลบ
  5. แล้วเราสามารถทำ B.C. เป็น B.E. ได้ไหมคะ?

    ตอบลบ
  6. เข้าใจแจ่มแจ้ง อธิบายได้ดีมากจร้า

    ตอบลบ