28.6.56

Latter – Letter : จดหมายฉบับต่อมา

สมัยโบราณ เมื่อผู้คนจะติดต่อสื่อสารกันก็จะใช้วิธีเขียนจดหมายถึงกัน แรกๆ ก็ผูกขานกพิราบไป หลังๆ เริ่มมีกิจการไปรษณีย์ก็ใช้วิธีเขียนใส่ซองติดแสตมป์ส่งหากัน  แต่ปัจจุบันนี้ รวดเร็วว่องไวกว่านั้น เราใช้ส่งพิมพ์ลงบนคอมพิวเตอร์แล้วส่งอีเมล์หากันเลย ส่งปุ๊ปได้ปั๊ปไม่ต้องรอ  ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือติดต่อสื่อสารรวดเร็ว เขียนปุ๊ปกดส่งปั๊ป ไม่ต้องมานั่งใส่ซองติดแสตมป์ รออีกสามสี่วันกว่าจะได้ถึงมือผู้รับ แต่ข้อเสียคือ หลายครั้งที่เราเขียนจดหมายเสร็จแล้วกดส่งออกไปในทันทีโดยไม่ได้ตรวจสอบเนื้อหาในจดหมาย ยิ่งถ้าเราเขียนไปด้วยอารมณ์ที่ไม่ค่อยจะดีนัก เมื่อกดส่งไปแล้วก็ไม่สามารถที่จะดึงจดหมายฉบับนั้นกลับมาแก้ไขได้  หลายคนจึงมีเรื่องมีราวทะเลาะเบาะแว้งเสียเพื่อนกันไปเหตุเพราะความรวดเร็วเกินไปของอีเมล์ที่ถูกส่งออกไปโดยขาดการตรวจสอบทบทวนนั่นเอง วันนี้ร่ายมาซะยาว เพื่อจะพูดถึงคำว่า

Letter (อ่านว่า เลท เทอะ) แปลว่า “จดหมาย”


คำนี้เป็นคำนามแปลว่า “จดหมาย”  หรือ แปลว่า “ตัวหนังสือ ตัวอักษร หรือ หนังสืออนุญาต” ก็ได้  นอกจากนั้นถ้าใช้เป็นคำกริยา จะแปลว่า “เขียนจดหมาย หรือ เขียนหนังสือ”  สิ่งที่น่าสนใจคือยังมีคำศัพท์ที่สะกดและออกเสียงคล้ายๆ กันกับคำนี้นั่นคือ

Latter (อ่านว่า แลท เทอะ)  แปลว่า ต่อมา

คำนี้เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) แปลว่า “ต่อมา , อันหลัง, ส่วนที่สอง”  คำว่า ต่อมาหรือถัดมานี้ จะใช้ในกรณีมีของสองสิ่งหรือสองส่วน แล้ว Latter จะใช้ในความหมายที่บ่งบอกถึง ส่วนที่สองหรืออันต่อมาจากอันแรก ยกตัวอย่างประโยคเพื่อให้เห็นภาพกันเลยดีกว่า 

Our sales volume will be better in the latter half of the year.  
ยอดขายของเราจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง   


แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ คำว่า Letter – Latter นั้น สะกดต่างกันตรงที่ตัว e กับ ตัว a  แต่การออกสียงนี่ถือว่าใกล้เคียงกันมาก ลองมาออกเสียงกันนะครับ   Letter (เล็ท เทอะ) Latter (แลท เทอะ)  คล้ายกันมากใช่ไหมครับ? ต่างกันแค่เสียงพยางค์หน้าออกเสียงสั้นกับลากเสียงยาว คือ “เล็ท” กับ “แลท”  ถ้าเราสามารถแยกความแตกต่างในการออกเสียงและตัวสะกดได้ เราก็สามารถแยกแยะความแตกต่างของคำศัพท์ทั้งสองคำนี้ได้อย่างสบายๆ

อาจารย์บอม
28-06-2013 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น