Credit pic: markdalton.net/wp-content/uploads/2016/05/Content-Is-King.jpg |
คำนี้เป็นคำนาม
แปลว่า “เนื้อหา หรือ สาระ” Content ยังสามารถแปลว่า “ปริมาณความจุ ” ได้อีกด้วย
อย่างที่เรามักจะเห็นเขียนไว้ข้างขวดว่า net content ซึ่งแปล่า “ปริมาณความจุสุทธิ”
คำว่า Content หากใช้เป็นคำกริยาจะแปลว่า “ทำให้พอใจ” หากใช้ในแวดวงหนังสือ Content จะหมายถึง “สารบัญ” แต่ถ้า Content ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) จะแปลว่า “พร้อมยอมรับ หรือ พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่” เรามาดูกันอีกคำหนึ่งนั่นคือ
Context (อ่านว่า ค้อน เท็กซ์) แปลว่า “บริบท”
คำนี้เป็นคำนามแปลว่า
“บริบท” หรือ ถ้าจะพูดให้ง่ายเข้า
แบบแปลไทยเป็นไทย ก็คือ “เนื้อหาแวดล้อม”
เช่น เราอยากอธิบายว่า ทำไมคนไทยสมัยก่อนนุ่งผ้าขาวม้า ก็อาจจะต้องดู
“บริบท” หรือ context ว่าสมัยก่อน อากาศมันร้อน เสื้อผ้าก็แพง
ใช้ผ้าขาวม้า ทั้งประหยัดนุ่งได้ ใช้เช็ดหน้าเช็ดตัวได้ ตรงคำอธิบายที่เพิ่มเติมมานี่ เราเรียกว่า context มาดูตัวอย่างประโยคกันดีกว่า
We cannot judge the way ancient people dress until we know the context.
เราไม่สามารถที่จะไปตัดสินเรื่องการแต่งกายของคนในสมัยโบราณ (ว่าดีหรือไม่ดี) จนกว่าเราจะรู้บริบท (ของสังคมสมัยนั้น)
We cannot judge the way ancient people dress until we know the context.
เราไม่สามารถที่จะไปตัดสินเรื่องการแต่งกายของคนในสมัยโบราณ (ว่าดีหรือไม่ดี) จนกว่าเราจะรู้บริบท (ของสังคมสมัยนั้น)
จะเห็นว่า Content และ Context สะกดและออกเสียงใกล้เคียงกันมาก
จะแตกต่างกันก็เพียง ตัวสะกด (คือ n กับ
x) และ เสียงท้าย ระหว่าง “เท่นท์” กับ “เท็กซ์” แม้ว่าคำแปลของทั้งสองคำนี้ จะหมายถึง
“เนื้อหา” แต่ Content จะเป็นเนื้อหาหลัก เนื้อหาจริงๆ
ขณะที Context จะเป็น “เนื้อหาแวดล้อม” เพื่อมาอธิบายประกอบให้เนื้อหาหลักมีความสมบูรณ์มากขึ้น ลองฝึกออกเสียงและแยกแยะความแตกต่างของทั้งสองคำนี้
ดูนะครับ
อาจารย์บอม
Nice one krub ^^
ตอบลบขอบคุณมากๆครับเข้าใจง่ายมากๆครับ
ตอบลบ